จับตาจีนสมัครเข้าร่วม CPTPP โอกาสและผลกระทบที่ไทยต้องเตรียมพร้อม
12
January
2022
20
September
2021
สมรภูมิเกมการค้าโลกสั่นสะเทือนขึ้นมาทันที หลังจีนประกาศยื่นสมัครเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ตอกย้ำความมุ่งมั่นของจีนในการเปิดเสรีการค้าโลก
การยื่นใบสมัคร CPTPP ของจีนครั้งนี้ถูกมองว่า เป็นความพยายามของจีน เพื่อเพิ่มอิทธิพลของตนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังจากในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนเพิ่งให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยตรงไปแล้วนั่นคือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่มีสมาชิก 15 ประเทศ คือ จีนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งรวมถึงไทยด้วย
CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensiveand Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง11 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย ญี่ปุ่น แคนาดาเม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม โดยพัฒนามาจากการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership) หรือ TPP ที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อสกัดจีน ก่อนที่ต่อมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ จะนำสหรัฐฯถอนตัวออกมาในปี 2560 โดยชูนโยบายการค้าแบบ“AmericaFirst” ที่สวนกระแสพหุภาคี
ผลจากการที่จีนขอยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิก จะทำให้ CPTPP กลายเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมที่มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย และเวียดนามมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือ GDP10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
เมื่อนับรวมจีน จะส่งผลให้จำนวนประชากรในตลาด CPTPP ใหญ่ขึ้นเป็นกว่า 1,900 ล้านคน (25% ของประชากรโลก) มูลค่า GDP ประมาณ 25.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (30% ของ GDP โลก)
อย่างไรก็ตาม ขนาดของเขตการค้าเสรี CPTPP ยังเล็กกว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศและปัจจุบันเป็นความตกลง FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยขนาดประชากรกว่า 2,300 ล้านคน (30% ของประชากรโลก) มูลค่า GDP 28.5ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก)
อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศประเมินว่า การสมัครเข้าร่วม CPTPP ของจีนจะเป็นการเพิ่มพันธมิตรและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของจีนกับสมาชิกCPTPP โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตของกลุ่มประเทศCPTPP (regional supply chain) จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของจีนในฐานะเป็นแหล่งวัตถุดิบและฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาค
ขณะเดียวกันเป็นการแสดงความพร้อมของจีนที่จะยกระดับมาตรฐานกฎระเบียบต่างๆให้ทัดเทียมกับประเทศสมาชิก CPTPP ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นมาตรฐานของโลกใหม่ อาทิ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสิทธิแรงงาน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การแข่งขันทางการค้าและการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมี FTA กับสมาชิก CPTPP แล้ว รวม 9ประเทศ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบทวิภาคี คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไนมาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรูโดยยังขาดเม็กซิโกกับแคนาดาที่ไทยไม่มี FTA ด้วยแต่ไทยก็อยู่ระหว่างเตรียมการเปิดเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดาในเร็วๆ นี้ จึงถือได้ว่า ไทยมีช่องทางในการเข้าสู่ตลาดประเทศสมาชิก CPTPP ผ่าน FTA ที่มีอยู่
ไทยเตรียมประเมินผลกระทบใหม่ หลังจีนและอังกฤษขอเข้าเป็นสมาชิก CPTPP
อธิบดีอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายจำนวนสมาชิก CPTPP รวมจีนและสหราชอาณาจักรได้เพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดใจของ CPTPP และทำให้ไทยต้องประเมินประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใหม่อย่างรอบคอบโดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้จากการเข้าสู่ตลาด CPTPP ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเช่น เรื่องการเข้าสู่ตลาด ความตกลง CPTPP ได้กำหนดให้สมาชิกต้องลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บระหว่างกันให้ครอบคลุมรายการสินค้าให้มากที่สุดเรียกได้ว่า ครบหรือเกือบครบทุกรายการสินค้าเรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่ส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสมาชิกเพื่อการผลิตขั้นสูงขึ้นไป เรื่องกฎระเบียบที่ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ กฎเกณฑ์เหล่านี้ จะทำให้ประเทศสมาชิก CPTPP มีความได้เปรียบประเทศที่มิใช่สมาชิกอีกทั้งประโยชน์ในเรื่องการเข้าไปอยู่ในวงห่วงโซ่การผลิตระดับภูมิภาค (regionalsupply chain) หรือการเสียประโยชน์หากอยู่นอกวงก็เป็นประเด็นใหม่ที่จะต้องนำมาพิจารณา เนื่องจากวงห่วงโซ่การผลิตของ CPTPPจะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรวมจีนเข้าไป
ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องมาตรฐานโลกใหม่ เช่น สิทธิแรงงานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสและการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่การเข้าร่วม CPTPP ของจีน อาจเป็นการนำเทรนด์ใหม่ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ว่ามีความพร้อมที่จะรับและปฏิบัติตามมาตรฐานโลกใหม่นี้เพื่อก้าวข้ามการที่ประเทศผู้นำเข้าอ้างเรื่องมาตรฐานต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องมือกีดกันการค้าซึ่งเทรนด์มาตรฐานที่จะเกิดขึ้นอาจกลายเป็นเส้นแบ่งกลุ่มประเทศได้
สำหรับการสมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือร่วมเจรจาความตกลง FTA ใด ของไทย โดยทั่วไปจะมีกระบวนการทำงาน คือศึกษาความพร้อม ประเมินผลประโยชน์ และผลกระทบของประเทศรวมทั้งการรับฟังความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเนื่องจากในการเจรจา FTA จะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนประโยชน์ที่จะได้รับการปรับตัว และช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียประโยชน์
“ จากที่ประเด็นเรื่องCPTPP เป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนติดตาม และให้ความสนใจ ล่าสุดจึงถูกยกระดับการพิจารณาเรื่องนี้ไปที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือ กนศ. ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้แทนระดับสูงจากหลายหน่วยงานทางเศรษฐกิจมาช่วยพิจารณาให้รอบด้านไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์กระทรวงเดียวซึ่งปัจจุบันเรื่องยังอยู่ระหว่างการดำเนินการของ กนศ. ซึ่งคงต้องนำความคืบหน้าล่าสุดนี้มารวมไว้ในการประเมินด้วย” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าว