“วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ” เกาะสมุย เชิญชวนผู้ใจบุญและผู้มีจิตศรัทธา ร่วมเป็นเจ้าภาพ “ทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศล เพื่อการศึกษา” สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ วันอาทิตย์ที่ 2 ต.ค.2565
17
September
2022
17
September
2022
การเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวะ และการศึกษาที่มีการฝึกฝนการปฏิบัติธรรมไปพร้อมๆ กัน ทำให้เยาวชนที่กำลังเติบโตมีความพร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญของชาติที่มีคุณภาพในอนาคต แนวคิดดังกล่าวเป็นหลักการสำคัญในการก่อตั้ง “วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ” ณ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เปิดโอกาสให้เยาวชนจากครอบครัวคนธรรมดาทั่วไปจากทุกภาคของประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยได้รับทุนเรียนจนจบการศึกษาระดับปวช. และ ปวส.โดยเท่าเทียมกัน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ เล่าว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณได้จัดตั้งขึ้นโดยความริเริ่มของพระเดชพระคุณพระภาวนาโพธิคุณ (อาจารย์โพธิ์)เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหลสวนโมกขพลาราม ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลที่มุ่งให้มีสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนธรรมะ ควบคู่กับการสอนวิชาชีพในระดับอาชีวศึกษาหลักสูตร ปวช. และ ปวส. ตามแนวทางของท่านพุทธทาส โดยจัดระบบเป็นโรงเรียนประจำที่นักศึกษาทุกคนได้พักอาศัยในหอพักของวิทยาลัยที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนและการปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้า-เย็น ฝึกสมาธิฟังธรรมทุกวัน เน้นระบบที่นักศึกษามีโอกาสได้รับการอบรม และการฝึกฝนทักษะวิชาชีพถึงขั้นเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง โดยเรียนภาคทฤษฎีในวิทยาลัย และมีเวลาไปเรียนภาคการปฏิบัติในสถานประกอบการ ที่มีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้บริหาร และหัวหน้างานที่เป็นมืออาชีพในสาขาต่างๆอีกด้วย
“ผมและพี่น้องมวลมหาประชาชนมีความคิดเห็นร่วมกัน ในอันที่จะผลักดันการปฏิรูปการศึกษา ในทุกระดับโดยเฉพาะในระดับอาชีวะ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดสวนโมกข์ ได้ปรารภกับผมในขณะที่ผมบวชปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดสวนโมกข์ว่า ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้เทศนาสอนไว้หลายสิบปีมาแล้วว่า การศึกษาของบ้านเรายังไม่สมบูรณ์ เราต้องไม่สอนแต่วิชาการ แต่ต้องสอนธรรมะให้เยาวชนให้ได้รับการอบรม
การปฏิบัติธรรมด้วยอาจารย์โพธิ์ต้องการเห็นโรงเรียนแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนอาชีวะ เพราะอาจารย์เห็นว่าผู้ที่เรียนอาชีวะ คือ ผู้ที่จะเป็นกำลังหลักในการทางานในประเทศ ถ้าเขาเป็นคนดี เป็นคนเก่งประเทศก็ได้กำไร เมื่อท่านปรารภอย่างนั้น ผมก็ได้กราบเรียนว่า ผมและมวลมหาประชาชนจะร่วมกันสร้างโรงเรียนแบบนี้ ที่เป็นโรงเรียนต้นแบบตามที่ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้เทศนาสอนไว้ และขออนุญาตใช้ชื่อสมณศักดิ์ของท่านอาจารย์โพธิ์เป็นชื่อวิทยาลัย” นายสุเทพเล่าที่ไปที่มาของสถานศึกษาที่สอนธรรมะควบคู่กับการสอนวิชาชีพแห่งนี้
จากแนวคิดดังกล่าวนำมาสู่หลักการดำเนินการของวิทยาลัยฯ ตั้งแต่เริ่มต้นที่จัดระบบเป็นโรงเรียนประจำ(Boarding school) เพื่อให้เกื้อกูลต่อการอบรม ปฏิบัติธรรม โดยได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในวิทยาลัย มีพระคุณเจ้าจำพรรษาประจำ จำนวน 5 รูป ทำหน้าที่ในการสอนธรรมะ และได้น้อมนำปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง”ให้นักศึกษาและอาจารย์ยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต ร่วมกันทำนา ปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงปลา เพาะเห็ด ปลูกพืชสมุนไพร ฯลฯ และใช้พื้นที่ของวิทยาลัยในการสาธิตเพื่อส่งเสริมอาชีพ เพิ่มพูนรายได้ของครอบครัว ประชาชน ด้วยองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยต่างๆและหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และมีโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์แบบเพื่อเป็นการรักษา สืบสาน และต่อยอด “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการยกฐานะเศรษฐกิจครอบครัวของประชาชน ตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy รวมทั้งพัฒนาขนาดและรูปแบบของกิจการด้านการประกอบอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็น Smart Farming และใช้สถานที่ของวิทยาลัยสำหรับการอบรมหลักสูตรพิเศษเพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ครอบครัวประชาชนทั่วไป
“ที่นี่เราสอนให้เด็กๆร่วมกันรับผิดชอบในการบริหารจัดการวิทยาลัยทั้งหมด โดยไม่มีภารโรง ไม่มีนักการวิทยาลัยนี้คือวิทยาลัยของทุกคน เราหวังที่จะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบ และมีจุดมุ่งหมายในชีวิต เพราะฉะนั้นเด็กที่จบจากที่นี่ นอกจากเป็นคนดี มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมแล้ว ยังมีทักษะในการใช้ชีวิตที่สามารถไปทำงานได้ทุกแห่ง และมีจิตใจที่พร้อมจะสู้งานหนักได้อีกด้วย”นายสุเทพ กล่าว
ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยฯ มีหลักดำเนินการที่ตั้งอยู่บน 4 แกนหลัก ประกอบด้วย หลักที่ 1 คือการสอนวิชาชีพอย่างจริงจังทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ให้เด็กของเราทั้งเก่งและดี“เก่ง” คือ เป็นมืออาชีพที่จะออกไปทำงานให้สังคม และองค์กรต่างๆ ส่วน “ดี” คือสอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ดังนั้น วิทยาลัยฯ จึงให้น้ำหนักทั้งเรื่องวิชาชีพและเรื่องธรรมะเท่ากัน สอนวิชาชีพและฝึกฝนการปฏิบัติธรรมควบคู่กัน
หลักที่ 2 คือประเทศไทยต้อง “ลงทุนในการสร้างคน” มืออาชีพที่จะออกไปทำงาน คำว่า “ลงทุน”หมายความว่า ต้องจัดระบบให้เรียนฟรี นักศึกษาจะได้มีกำลังใจมาเรียนถือว่ารัฐเป็นผู้ลงทุนสร้างคนเหล่านี้ เพื่อออกไปรับใช้สังคม
หลักที่ 3 เราต้องการให้มืออาชีพเหล่านี้เป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นคนที่ยึดหลักวิถีชีวิตที่มี“ความพอเพียง” ตามแนวทางที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้แก่ชาวไทย เขาจะได้เป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อย่างพอเหมาะพอเพียงตามอัตภาพ และใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังตามหลักศาสนา และหลักที่ 4 คนของเราต้องมี เป็นผู้มี “ความรับผิดชอบ” โดยยึดหลักการพึ่งตัวเอง มีความเพียรมานะบากบั่น สู้งานหนัก ทำงานได้ทุกอย่างไม่กลัวงานหนัก
ปัจจุบัน วิทยาลัยฯเปิดดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 6 โดยมีนักศึกษาที่จบ ปวช.รุ่นแรก จำนวน 100 คนรุ่นที่ 2 จบ ปวช. 110 คน ในปีนี้ (2565) เป็นปีแรกที่นักศึกษาของวิทยาลัยฯเรียนจบ ปวส. จำนวน 28 คน บางส่วนได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี บางส่วนเข้าทำงานในสถานประกอบการต่างๆ ที่น่าดีใจคือมีนักศึกษาของวิทยาลัยฯ จำนวน23 คน สามารถสอบได้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศจีน ที่มีการสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาจีน อันเป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า หลักการและแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่วิทยาลัยนำมาใช้กับเด็กๆนั้นมาถูกทิศถูกทาง และสัมฤทธิ์ผล
อย่างไรก็ตาม ด้วยปรัชญาการก่อตั้งวิทยาลัยฯ ที่ต้องการให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องแบกภาระค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน ในทุกปีวิทยาลัยฯจึงได้จัดให้มีกิจกรรมการระดมทุน โดยจัด “วันทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศลเพื่อการศึกษา”ปีละหนึ่งครั้ง เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ผู้ใจบุญตลอดจนผู้ที่มองเห็นอนาคตทางการศึกษาของประเทศที่สมควรจะดำเนินการไปในแนวทางนี้ได้มีโอกาสร่วมบริจาคเงินทุนเพื่อการศึกษา โดยมีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าประคุณสมเด็จธงชัยวัดไตรมิตร) ซึ่งเป็นผู้รับอุปการะวิทยาลัยฯ เป็นประธานในการจัดทอดผ้าป่าให้ทุกปี
“วิทยาลัยแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของผู้ใจบุญทั้งหลายนับตั้งแต่การซื้อที่ดิน การสร้างอาคารพัฒนาขึ้นมาตามลำดับมีหอพักให้นักศึกษาอยู่ประจำ มีอาหารการกิน ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการศึกษาอย่างครบครัน ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและเป็นการจูงใจให้เยาวชนจากทุกภาคได้เข้ามาเรียนอาชีวะซึ่งเป็นหัวใจที่สาคัญในการพัฒนาบุคลากรมืออาชีพในอนาคต” นายสุเทพ ย้ำ
สำหรับปีนี้สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าประคุณสมเด็จธงชัย วัดไตรมิตร) ได้กำหนดเป็นประธานจัดทอดผ้าป่ามหากุศลเพื่อการศึกษา ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ อำเภอเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. โดย ดร.เอนกเหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
เพื่อสานต่อโอกาสของเด็กและเยาวชนจากทั่วประเทศทางวิทยาลัยฯ ขอเชิญชวนผู้ใจบุญร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ทำบุญเพื่ออนาคตของเยาวชนร่วมกับสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าประคุณสมเด็จธงชัย วัดไตรมิตร)ในการทอดผ้าป่ามหากุศลเพื่อการศึกษาในครั้งนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bbvc.ac.th โดยผู้บริจาคสามารถโอนเงินเข้าบัญชี“วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ” ได้โดยตรงที่ ธนาคาร กสิกรไทย สาขาสุขุมวิท 6เลขที่บัญชี 637-1-01722-2 หรือ ติดต่อสอบถามหรือแจ้งข้อมูลการบริจาคเพื่อรับใบเสร็จซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้สองเท่า ได้ที่ โทรศัพท์ 02 653 2952-3, 062 892 3425, 062 892 3419 หรือ E-mail :donate.bbvc@gmail.com หรือ LINE ID : @BBVC
“ผมขอกราบเรียนเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกันสร้างโอกาสแห่งชีวิตให้นักศึกษาจากทั่วประเทศเพื่อพัฒนาตนเองเป็นมืออาชีพ ที่มีคุณภาพและยึดมั่นในหลักคุณธรรมเพื่ออนาคตของเด็ก เยาวชนไทย และอนาคตของประเทศในระยะยาว” นายสุเทพกล่าวทิ้งท้ายบอกบุญ