นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่ว แหล่งการลงทุน 6 อุตสาหกรรมดาวรุ่ง เชื่อมโยงข้อริเริ่ม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
12
January
2022
26
February
2020
ฉงจั่ว ได้รับการขนานนามเป็น "เมืองแห่งน้ำตาล" "เมืองแห่งแมงกานีส" และ "เมืองแห่งการค้าชายแดน" ติดอันดับเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ประจำปี 2561 นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทยฉงจั่ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองฉงจั่ว มีเนื้อที่100 ตารางกิโลเมตร เป็นนิคมฯ สำคัญที่สร้างขึ้นในระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน;เป็นฐานนำร่องความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ; เขตไฮเทคระดับมณฑล; เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาเมืองด้วยอุตสาหกรรม หลายปีมานี้ด้วยการกำหนดให้นิคมฯ เป็นสื่อกลาง ส่งผลให้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าระหว่างไทย-จีนมีความคืบหน้าตามลำดับกลายเป็นรูปแบบการพัฒนา“2 ประเทศหลายนิคมฯ”ปัจจุบันนิคมฯ ได้ดึงดูดธุรกิจเข้ามาลงทุนได้สำเร็จกว่า100 ราย อาทิ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และ Angel Yeast เป็นต้น มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี2561 สูงถึง 1.3 หมื่นล้านหยวน ซึ่งนับว่ามีแนวโน้มการพัฒนาที่ดี
จุดแข็งที่โดดเด่นของนิคมฯ
1.จุดแข็งด้านที่ตั้ง: นิคมฯ ตั้งอยู่บนทางบกที่มุ่งสู่อาเซียนได้สะดวกและรวดเร็วที่สุดอยู่ห่างจากนครหนานหนิง 70 กิโลเมตร; กรุงฮานอย 260 กิโลเมตร; ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ หรืออ่าวตังเกี๋ย130 กิโลเมตร; ชายแดนภาคเหนือของไทย 800 กิโลเมตร นับว่าให้ความสะดวกด้านโลจิสติกส์มากทีเดียว
2.จุดแข็งด้านท่าเรือการค้าชายแดน: จุดที่ห่างจากด้านตะวันตกของนิคมฯประมาณ 100 กิโลเมตร มีท่าเรือประเภทหนึ่ง จำนวน 5 แห่ง; ท่าเรือประเภทสอง จำนวน2 แห่ง; ตลาดการค้าชายแดน จำนวน 14 แห่ง ในปี 2561 ฉงจั่วมีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกรวมทั้งสิ้น 1.56 แสนล้านหยวน ซึ่งทางนิคมฯสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก“2 ทรัพยากร2 ตลาด”ของจีนและอาเซียน
3.จุดแข็งด้านทรัพยากรแรงงาน: เมืองฉงจั่วมีแรงงานมากกว่า5.5 แสนคน สถาบัน Guangxi Normal University for Nationalities และ GuangxiCity Vocational University ที่อยู่บริเวณโดยรอบนิคมฯ สามารถป้อนช่างเทคนิคที่เพียงพอนอกจากนี้ นิคมฯ ยังสามารถใช้แรงงานข้ามชาติอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ
4.จุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐาน: นิคมฯ กำลังสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันมีถนนสายหลักให้รถแล่นผ่าน มีโรงบำบัดน้ำเสีย ซึ่งบำบัดน้ำเสียได้ 3.2 หมื่นตันต่อวันมีพื้นที่โรงงานมาตรฐานเกือบ 3.4 แสนตารางเมตร และมีหอพักคนงานเกือบ 4,000 ห้อง เป็นการมอบหลักประกันสำหรับการพัฒนาธุรกิจ
อุตสาหกรรมที่เปิดรับนักลงทุน
1.อุตสาหกรรมอาหารอาเซียน
นิคมฯ อาศัยจุดแข็งด้านท่าเรือ ใช้สินค้าเกษตรที่นำเข้าผ่านท่าเรือฉงจั่วเป็นรากฐานในการสร้างฐานแปรรูปอาหารอาเซียนโดยนำเข้าถั่ว ผลไม้สด และผลไม้อบแห้ง เพื่อสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.อุตสาหกรรมพลังงานใหม่
นิคมฯอาศัยทรัพยากรแร่ที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่น เช่น แมงกานีสและอลูมิเนียมในการสร้างฐานอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ปัจจุบันได้ดึงดูดโครงการยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น CITIC Dameng,PRINCE ฯลฯ ในขั้นต่อไป จะดึงดูดการลงทุนจากธุรกิจแบตเตอรี่ชาร์จไฟรถพลังงานทางเลือก ฯลฯ เพื่อสร้างฐานอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่รวบรวมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายทอดผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งการจำหน่ายและส่งออกเข้าไว้ด้วยกัน
3.อุตสาหกรรมวัสดุรูปแบบใหม่
นิคมฯอาศัยทรัพยากรแร่ที่อุดมสมบูรณ์ของเมืองฉงจั่วในการสร้างฐานอุตสาหกรรมวัสดุรูปแบบใหม่ขั้นต่อไป เราจะอาศัยทรัพยากรแร่ธาตุหายากที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่น โดยกำหนดให้ CHINALCOเป็นธุรกิจแนวหน้า เพื่อขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุแม่เหล็กถาวรฯลฯ
4.อุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยหมุนเวียน
เมืองฉงจั่วมีปริมาณการผลิตน้ำตาลอ้อยอยู่ที่ราว2 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 20% ของทั้งประเทศ จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งน้ำตาล”ขณะเดียวกัน โซนศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ประเทศจีนให้การส่งเสริมก็ตั้งอยู่ภายในนิคมฯซึ่งนิคมฯ ก็กำลังมุ่งมั่นพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมน้ำตาลแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยดึงดูดธุรกิจชื่อดังต่างๆเช่น บริษัท มิตรผล จำกัด,COFCO, Angel Yeast,Hao Qing Chun SugarcaneVinegar Industry Co.,Ltd. กลายเป็นฐานอุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยที่สมบูรณ์แบบ ในขั้นต่อไปจะดึงดูดโครงการแปรรูปน้ำตาลอ้อยเชิงลึกเข้าสู่นิคมฯ มากขึ้น เพื่อขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรมและสร้างเมืองแห่งความหวานของจีนอย่างเต็มกำลัง
5.อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
อาศัยจุดแข็งด้านที่ตั้ง ท่าเรือการค้าชายแดนและทรัพยากรป่าไม้ของเมืองฉงจั่ว โซนศูนย์กลางได้สร้างฐานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บนพื้นที่นับหมื่นไร่จีนพยายามดึงดูดโครงการผลิตที่มีวัสดุแผ่นไม้เป็นหัวใจสำคัญ ปัจจุบันสามารถดึงดูดธุรกิจให้เข้ามาลงทุนได้แล้วกว่า40 ราย กลายเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแปรรูปวัสดุไม้ เราจะรับเอาวัสดุไม้นำเข้าอย่างไม้ยางพาราเข้าสู่นิคมฯเพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปไม้เชิงลึก และขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรม ในขั้นต่อไป เราจะเน้นดึงดูดธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังที่ใช้วัสดุไม้ธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเพื่อทุ่มกำลังสร้างฐานนำร่องอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
6.อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวและการพักอาศัยสไตล์ไทย
เมืองฉงจั่วตั้งอยู่ที่ด่านชายแดนมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งยังมีความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยมาหลายสิบปีเรานำวัฒนธรรมฉงจั่วและองค์ประกอบของไทยมาผนวกรวมกัน เพื่อให้กลายเป็นศูนย์บริการธุรกิจสไตล์ไทยโดยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านธุรกิจ การเงิน และการพักผ่อนต่างๆ เพื่อให้นิคมฯ กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งใหม่ที่น่าลงทุนและน่าอยู่ไปพร้อมๆกัน
นายเหอ ซ่าวเหว่ย ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทยฉงจั่วกล่าวว่าภายใต้การผลักดันยุทธศาสตร์ร่วมสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าระหว่างไทย-จีนจะนำมาซึ่งโอกาสการพัฒนาที่มากกว่าและดียิ่งกว่า ทางเรามีความยินดีหากท่านจะเดินทางมาศึกษาดูงานและลงทุนตั้งกิจการในนิคมฯ เราเต็มใจส่งมอบการบริการที่ดีที่สุด เพื่อร่วมสร้างอนาคตที่สดใสกับทุกท่าน