China-ASEAN Panorama

‘กว่างซี’ ประตูเชื่อมโยงความร่วมมือด้าน ‘อาชีวศึกษา’ จีน-อาเซียน

2

February

2023

2

February

2023

        ปัจจุบัน ‘กว่างซี’ ถือเป็นหนึ่งในจุดศูนย์รวมความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาระหว่างจีนกับอาเซียน โดยได้ผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียนอย่างต่อเนื่อง

หนทางแห่งความสำเร็จร่วมกัน

        ปี 2559 วิทยาลัยเทคนิคอาชีวะการรถไฟหลิ่วโจว (LRVTC) ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดตั้ง “วิทยาลัยการคมนาคมระบบราง” (Thailand-China Railway College of RMUTI) ในประเทศไทย ภายใต้โมเดล “การพัฒนาบุคลากรครู+หลักสูตรการเรียนวิชาระบบราง+การฝึกปฏิบัติจริง”

ฐานฝึกปฏิบัติงานระบบรางของวิทยาลัยเทคนิคอาชีวะการรถไฟหลิ่วโจว (LRVTC) (ภาพ: เว็บไซต์ทางการวิทยาลัย LRVTC)

        นอกจากนี้ วิทยาลัย LRVTC ยังได้ริเริ่มจัดตั้ง “กลุ่มพันธมิตรอาชีวศึกษาระบบรางจีน-อาเซียน” (China-ASEAN Rail Transit Engineering Vocational Education Alliance) ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งในอาเซียน ทั้งไทย สปป.ลาวและอินโดนีเซีย เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคมนาคมระบบรางร่วมกัน

อาจารย์จากวิทยาลัย LRVTC สอนวิธีการใช้งานอุปกรณ์ให้กับอาจารย์ชาวไทย (ภาพ: เว็บไซต์ทางการวิทยาลัย LRVTC)

แนวทางการสอนอาชีวศึกษาแบบฉบับกว่างซี

        นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองหลิ่วโจว ได้ร่วมมือกับบริษัทยานยนต์ในกว่างซี อย่าง SAIC-GM-Wuling Automobile, Guangxi Automobile Group และ Dongfeng Liuzhou Motor จัดตั้งฐานฝึกอบรมบุคลากรในอาเซียน โดยหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิดก็ยังคงมีการอบรมให้ความรู้ผ่านทางไลฟ์สดอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มาศึกษาดูงานที่วิทยาลัย LRVTC (ภาพ: เว็บไซต์ทางการวิทยาลัย LRVTC)

        ในเดือนกรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัยเทคนิคอาชีวะการเกษตรกว่างซี ได้จับมือกับกระทรวงเกษตรของจีน และกรมวิชาการเกษตรกว่างซี จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรจีน-อาเซียน, ศูนย์จัดแสดงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่กว่างซี และฐานการฝึกอบรมอื่น ๆ เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้และผลิตบุคลากรด้านการเกษตรของอาเซียน

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมาศึกษาดูงานที่วิทยาลัยLRVTC
(ภาพ: เว็บไซต์ทางการวิทยาลัย LRVTC)

        นอกจากนี้ สถาบันอาชีวศึกษาหลายแห่งในกว่างซี ยังได้เปิดโครงการฝึกอบรมความรู้ทางด้านต่างๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ สิ่งทอ ทักษะการปรุงอาหารจีน และวัฒนธรรมอาหารของจีน ให้กับสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการต่างๆ ในอาเซียน ผ่านการเรียนรู้ทั้งเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล สิ่งทอเครื่องแต่งกาย อาหารและการท่องเที่ยวระหว่างจีน-อาเซียนได้เป็นอย่างดี

ศูนย์จัดแสดงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่กว่างซี สถานที่ฝึกปฏิบัติจริงของมหาวิทยาลัยเทคนิคอาชีวะการเกษตรกว่างซี (ภาพ: เว็บไซต์ทางการ ม.เทคนิคอาชีวะการเกษตรกว่างซี)

ศักยภาพความร่วมมือในอนาคต

        ปัจจุบัน จีนและอาเซียนมีความร่วมมือและการลงทุนในภาคการผลิต การเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีขั้นสูง เศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจสีเขียวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ เช่น รถไฟจีน-ลาว รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง ระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ (ILSTC) และความร่วมมือจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้โมเดล “สองประเทศสองนิคม” ระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย และจีนกับมาเลเซีย ต่างดำเนินการแล้วอย่างราบรื่น เห็นได้ชัดว่าทั้งจีนและอาเซียนต่างกำลังต้องการบุคลากรด้านเทคนิคที่เชี่ยวชาญในสาขาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน

พื้นที่แสดงการเพาะปลูกพืชแบบไร้ดิน ภายในศูนย์จัดแสดงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่กว่างซี (ภาพ: ม.เทคนิคอาชีวะการเกษตรกว่างซี)

        ที่น่าจับตามองคือ โอกาสใหม่ๆ ที่กำลังตามมายุคหลังโควิด การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของจีนและอาเซียน จะช่วยขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และกระตุ้นความต้องการแรงงานที่มีทักษะในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของโควิดก็ทำให้ความร่วมมือด้านสาธารณสุขกลายเป็นจุดสนใจมากกว่าเดิม

นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวอินโดนีเซียเข้ารับการอบรมความรู้เรื่องระบบยานยนต์ที่บริษัท SAIC-GM-Wuling Automobile ในอินโดนีเซีย (ภาพ: เว็บไซต์ทางการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองหลิ่วโจว)

        ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบัน การเรียนสายอาชีพกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเยาวชนคนรุ่นใหม่ การสานต่อความร่วมมือกับอาเซียนของสถาบันอาชีวศึกษาในกว่างซี จึงเป็นหนทางที่ความร่วมมือด้านกาศึกษาระหว่างจีน-อาเซียนจะต้องมุ่งเดินหน้าต่อไป เพื่อให้ ‘อาชีวศึกษา’ กลายเป็นขุมพลังบ่มเพาะบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางให้กับจีนและอาเซียน

ที่มา: China-ASEAN Panorama

Tags:
No items found.