China-ASEAN Panorama

ส่งเสริมการบูรณาการ 3 ห่วงโซ่ระหว่างจีน-อาเซียน สร้างโอกาสและความมั่งคั่งสู่ภูมิภาคร่วมกัน

16

March

2022

19

October

2021

ผู้เขียน: หลี หมิ่น นิตยสาร CAP

        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการค้าโลก ทำให้จีนและอาเซียนตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและการยกระดับการบูรณาการระหว่างห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าระหว่างกันมากขึ้น

พันธมิตรคลังสมองด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ จัดตั้งขึ้นที่งานฟอรั่มบูรณาการ 3 ห่วงโซ่

        ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเคยกล่าวในพิธีเปิดงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 17 เมื่อปี 2020 ว่า จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับอาเซียน เพื่อปลดล็อคทางการค้าส่งเสริมการลงทุน เปิดตลาดซึ่งกันและกัน และส่งเสริมการบูรณาการด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่าระหว่างกันอย่างลึกซึ้ง

        หนึ่งปีต่อมา งาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 18 ได้จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการอย่างลึกซึ้งของ3ห่วงโซ่เช่น ฟอรั่มความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และฟอรั่มการบูรณาการห่วงโซ่อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าจีน-อาเซียน ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์และนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกัน

การบูรณาการ3ห่วงโซ่ มีความพร้อม ความต้องการและความจำเป็น

       ประเทศจีนและประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ต่างเป็นประเทศกำลังพัฒนาการผลักดันการบูรณาการ3ห่วงโซ่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมใหม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญในขณะนี้และจะเป็นจุดสนใจในอนาคตเมื่อมองในภาพรวม จีนและอาเซียนมีการบูรณาการ3ห่วงโซ่ในภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่นภาคการผลิต อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมเบา เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้วและเมื่อมีโอกาสของการปฏิวัติทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมระลอกใหม่ทั้งสองฝ่ายจะยิ่งมีช่องว่างทางความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเกิดใหม่เช่น อีคอมเมิร์ซเมืองอัจฉริยะ และชีวการแพทย์มากขึ้น

        แต่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมหรืออุตสาหกรรมเกิดใหม่ จีนและประเทศอาเซียนต่างมีความพร้อมในการส่งเสริมการบูรณาการของ3ห่วงโซ่จากข้อมูลของธนาคารโลกเมื่อปี 2019 จีดีพีภาคการผลิตของจีนคิดเป็น 32.4% ของจีดีพีภาคการผลิตทั้งหมดของโลกด้วยปริมาณภาคการผลิตที่มาก ตลาดภายในของจีนไม่3ารถรองรับความต้องการของการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อีกต่อไปการขยายการลงทุนในต่างประเทศจึงได้กลายเป็นทางเลือกใหม่

        จาง กุ้ยฟาง รองประธานบริการฝ่ายต่างประเทศ ฮอลลี่ กรุ๊ป กล่าวในฟอรั่มบูรณาการ 3ห่วงโซ่ว่า ห่วงโซ่อุปทานของจีนมีข้อดี3ประการ คือ ประเภทหมวดหมู่ที่ครบครัน ห่วงโซ่อุปทานที่ยาวเพียงพอและประสิทธิภาพที่ดีของห่วงโซ่อุปทาน “ดังนั้นเมื่อภาคการผลิตของจีนขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศเรา3ารถถ่ายโอนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเจ้าบ้านและช่วยเติมเต็มช่องว่างในตลาดของพวกเขาได้ยิ่งไปกว่านั้น การขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศแตกต่างกับการส่งออกสินค้าออกไปอย่างเดียวเพราะจะช่วยสร้างงานให้กับคนในพื้นที เพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีให้กับท้องถิ่น และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนต่อไป"

       ด้านตัวแทนของประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมในฟอรั่มบูรณาการ 3ห่วงโซ่ ต่างแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมืออย่างชัดเจนMr. See CheeKong อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศจีน กล่าวว่าขณะนี้มาเลเซียกำลังให้ความสำคัญกับความร่วมมือภาคการผลิตและเวชภัณฑ์ป้องกันโรคระบาดตลอดจนความร่วมมือด้านเซมิคอนดักเตอร์ ชิป และอุตสาหกรรมอื่นๆ

        Ms. Virdiana Ririen Hapsari อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศจีนกล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองแร่นิกเกิลมากที่สุดในโลก และจีนมีความจำเป็นต้องพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า3ารถลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่อินโดนีเซียได้ การบูรณาการ 3 ห่วงโซ่ระหว่างจีนและอาเซียนควรเน้นที่ทรัพยากรที่ทั้งสองฝ่าย3ารถเสริมซึ่งกันและกันได้ คว้าโอกาสใหม่ๆ ในช่วงของการแพร่ระบาด

สวี เสี่ยวหลาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน

โมเดลความสำเร็จของการผลักดันการบูรณาการ3 ห่วงโซ่ในภูมิภาค

        นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน (CPGC) ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าในต่างประเทศแห่งแรกของจีน ปัจจุบัน มีบริษัทจีนภายในนิคม167 แห่ง สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นมากกว่า 40,000 ตำแหน่ง เม็ดเงินลงทุนมากกว่า4 พันล้านเหรียญสหรัฐ “เบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการบูรณาการที่ดีระหว่างห่วงโซ่อุปทานของจีนและห่วงโซ่อุปทานของไทยตลอดจนห่วงโซ่อุปทานของประเทศรอบๆ ประเทศไทย" จาง กุ้ยฟาง กล่าว โดยบริษัทฮอลลี่ กรุ๊ป ที่เธอเป็นผู้บริหาร นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ร่วมลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีนระยอง

        “สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งนิคมฯเราได้พิจารณาถึงระดับความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานของประเทศนั้นๆรัศมีการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานรอบข้าง ศักยภาพความร่วมมือระหว่างห่วงโซ่อุปทานที่มีความได้เปรียบของจีนกับห่วงโซ่อุปทานของประเทศนั้นตลอดจนปัจจัยอื่นๆ โดยได้จัดทำแผนผังโซนอุตสาหกรรมภายในนิคมฯไว้ล่วงหน้า แล้วดำเนินการจัดหาและคัดเลือกกิจการตามแผนที่กำหนดไว้และพิจารณาถึงห่วงโซ่อุปทานที่มีความเชื่อมโยงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ด้วยหวังว่าจะทำให้นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีนระยอง เป็นศูนย์รวมครบจบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในที่เดียว” จาง กุ้ยฟาง เชื่อว่าการส่งเสริมการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างห่วงโซ่อุปทานจีน-อาเซียน 3ารถทำได้ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของการวางแผนช่วยให้บริษัทผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมมีส่วนร่วมในความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศมากขึ้น

        เมื่อเทียบกับบริษัทผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมที่เลือกใช้นิคมอุตสาหกรรมเป็นช่องทางขยายกิจการสู่ต่างประเทศบริษัทชั้นนำอย่าง SAIC-GM-WulingAutomobile (SGMW) กลับเลือกใช้โมเดลการส่งออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศโดยให้บริษัทเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทาน อาศัยฐานการผลิต ซัพพลายเชนและช่องทางจัดจำหน่ายของตัวเองทั้งหมด

        หลี่ ซูอิง ผู้จัดการใหญ่ของศูนย์วิศวกรรมและธุรกิจต่างประเทศของ SGMW กล่าวว่า บริษัทที่SGMW เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียได้เริ่มทำการผลิตอย่างเป็นทางการเมื่อปี2017 โดยได้นำซัพพลายเออร์จากจีน 15 รายไปยังอินโดนีเซีย และสร้างแหล่งซัพพลายเออร์ของตนเองขึ้นที่อินโดนีเซีย“ด้วยโมเดลนี้ SGMW ได้สร้างระบบซัพพลายเชน ซึ่งซัพพลายเออร์ท้องถิ่นในอินโดนีเซียและทำงานร่วมกันกับซัพพลายเออร์จีนที่อินโดนีเซียสร้างงานโดยตรงมากกว่า 3,000 ตำแหน่ง"

        นอกจากนี้ SGMW ยังได้สร้างเครือข่ายโชว์รูมและศูนย์บริการรถยนต์แบรนด์ SGMW ในอินโดนีเซียกว่า 120 แห่ง ก่อตั้งสถาบันทางการเงินของตนเองขึ้นในอินโดนีเซียให้บริการสินเชื่อรถยนต์ ช่วยให้ครอบครัวทั่วไปในอินโดนีเซียเข้าถึงรถยนต์แบรนด์ SGMW มากขึ้น  ตลอดจนมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งออกทรัพย์สินทางปัญญากระชับความร่วมมือในห่วงโซ่คุณค่าระหว่างสองฝ่าย

พิธีเปิดตัว“แพลตฟอร์มความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานข้ามพรมแดนจีน-อาเซียน”

แนวทางการส่งเสริมการบูรณาการ3 ห่วงโซ่ในอนาคต

        การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความเสี่ยงของการหยุดชะงักหรือขาดตอนของห่วงโซ่อุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  "การเสริมความแข็งแกร่ง และการสนับสนุนซึ่งกันและกันของห่วงโซ่ได้กลายเป็นมาตรการสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน และเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจีนและอาเซียนควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมความได้เปรียบ กระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและแสวงหาเส้นทางความร่วมมือแบบ win-win ในการบูรณาการทั้ง 3 ห่วงโซ่ร่วมกัน” สวีเสี่ยวหลาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน เสนอแนวคิด4 ประการในฟอรั่มการบูรณาการ 3 ห่วงโซ่ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านนโยบายการเสริมการบูรณาการด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรม การรับประกันความไหลลื่นของห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมการยกระดับห่วงโซ่คุณค่า

       ทั้งนี้ การเชื่อมต่อโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาสีเขียวจะเป็นกุญแจสำคัญโดยโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้หมายถึงแค่การเชื่อมต่อโครงข่ายด้านการขนส่ง แต่ยังรวมถึงการเชื่อมต่อโครงข่ายของโครงสร้างพื้นฐานใหม่เช่น อินเตอร์เน็ตอุตสาหกรรมและ 5G  ขณะที่การพัฒนาสีเขียวหมายถึง ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายจะไม่ใช่การดำเนินการด้านกำลังการผลิตที่ล้าหลังแต่จะเป็นความร่วมมือที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืนซึ่งสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย

        ในฟอรั่มการบูรณาการ 3 ห่วงโซ่ ยังได้มีการเปิดตัว“แพลตฟอร์มความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานข้ามพรมแดนจีน-อาเซียน” ซึ่งร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง “พันธมิตรคลังสมองด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ขึ้นภายในงานฟอรั่ม

        การบูรณาการ 3 ห่วงโซ่ระหว่างจีนและอาเซียน คือความร่วมมือด้านซัพพลายเชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาร่วมกันด้วยความร่วมมือนี้ เชื่อว่าแนวโน้มของการบูรณาการ3ห่วงโซ่ระหว่างจีน-อาเซียนจะเจริญรุดหน้าอย่างต่อเนื่องความมั่งคั่งและโอกาสการพัฒนาใหม่ๆ จะหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคจีน-อาเซียนมากขึ้น

Tags: