TAP Magazine Vol.21 MAR 2018

ส่องธุรกิจหนังไทย-จีน

            1-2-3 แอ็กชัน....

            เปิดไฮไลต์ฉบับนี้ด้วยความคึกคักของอุตสาหกรรมบันเทิงจีน ที่เปิดตัวรุกตลาดอาเซียนอย่างเต็มพิกัด และหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายก็ต้องมีประเทศไทยอยู่ด้วย

            หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหนังไทยเองมีสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก ส่วนแบ่งรายได้เหลือเพียง 10-11% เป็นมูลค่า 500-600ล้านบาท หากเทียบกับหนังจีนที่ทำรายได้นับพันล้านบาทต่อเรื่อง นับว่ายังห่างไกลกันมาก

            สาเหตุสำคัญคือ การเติบโตของสื่อออนไลน์ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และการเข้ามาของหนังต่างประเทศที่กระแสดีกว่า ร้อนถึงผู้ผลิตและผู้สร้างหนังไทยต้องปรับตัวทั้งด้านต้นทุนและรูปแบบโปรดักชัน รวมถึงแนวทางการจับมือกับค่ายหนังต่างประเทศ เพื่อร่วมผลิตและผสมผสานผลงานเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ครอบคลุมมากขึ้น

            ขณะที่กลุ่มทุนจีน เล็งเห็นศักยภาพของไทย และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จีนมีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง มีการสร้างเมืองหนัง (Movie Town) หลายเมือง โดย เนรมิตสรรพสิ่งที่จำเป็นต่องานโปรดักชันทั้งหมดไว้ในจุดเดียวแบบไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาที่ไหนอีก

            ผลงานของไทยที่พิสูจน์ฝีมือด้วยการคว้ารางวัลระดับโลกมาแล้วหลายเวที เป็นแรงดึงดูดให้กลุ่มทุนจีนเข้ามาร่วมงานด้วย

            กองบก. TAP ได้พูดคุยกับผู้ผลิตและผู้กำกับระดับแนวหน้าของไทยถึงมุมมองต่อทิศทางอุตสาหกรรมหนังไทยและความร่วมมือในอาเซียน พร้อมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ดีๆจากการร่วมงานกับกองถ่ายจีน ซึ่งมีแง่คิดดีๆที่น่าสนใจ

            ติดตามได้ในนิตยสาร TAP ฉบับนี้ค่ะ

探索中泰电影产业

        “3、2、1,action!”

        这是 拍电影常听到的口号,中国与东盟之间的交流越来越密切,中国电影也逐步迈向东盟市场,其中泰国是重要的一站目的地。

        从泰国本土电影行业来看,近年来市场不太景气,每年本土电影票房收入约5-6亿泰铢,市场份额只有10-11%。而中国电影在本国的市场票房收入上十亿泰铢,所以两国的电影行业还是有一定的差距。

        现在网络媒体的兴起,改变的观众的行为习惯,并且热衷国外好莱坞大片,泰国电影制片人要改变市场销售方向及电影类型,尝试与国外合作拍摄电影作品,以满足观众的需求。

        中国电影制片公司赞赏泰国电影制作水平,并且不少公司已经开展合作,因为近年来泰国电影在多个电影节上获得大奖,也是让中国投资者选择泰国的因素。

        从中国国内看,2-3年来,中国大力发展影视娱乐行业,修建了多处电影城,争取将电影创作、拍摄、后期等环节集中在一个地方,不需要再到其他地方取景。

        本期东盟博览杂志采访了泰国知名发行商、导演,给读者带来有关泰国电影行业专家们的看法,以及讨论与东盟国家之间的合作,分享与参与中国电影摄制的经验。

        更多精彩内容尽在本期的东盟博览。